โครงการที่ 1 การจัดการและพัฒนาองค์การโดยยึดหลักธรรมมาภิบาล
วัตถุประสงค์
เพื่อสร้างธรรมาภิบาลให้เป็นแบบอย่างในการดำเนินงานพื้นฐานของข้าราชการในสังกัด
เพราะหลักการพัฒนาธรรมในใจที่ผ่านมา ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร การจัดทำระบบ ระเบียบปฏิบัติแบบเดิมเป็นรูปแบบที่มีลักษณะเป็นธรรมเนียมมากเกินไป คนจึงเข้าใจยาก การสานต่อระดับความเข้าใจทางธรรมจึงยากไปตามลำดับของการปฎิบัติ
ดังนั้นธรรมภิบาลควรเริ่มต้นตั้งแต่บรรทัดแรกของทุกบทบัญญัติ ทุกบรรทัดที่เป็นรากฐานของการกระทำ คนไม่ควรใช้ความฉลาดมากเกินไป เพราะความฉลาดนำไปสู่การเอารัดเอาเปรียบและเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นเรื่องของอารยะขัดขืน ยอมความกันไม่ได้ตามกฎหมาย การวัดผลเป็นรูปธรรมจึงไม่ใช่คำตอบของธรรมาภิบาล แต่ไม่ได้หมายความว่าความเป็นรูปธรรมจะสะท้อนความเป็นธรรมาภิบาลออกมาไม่ได้ เพราะคนเรียนรู้ธรรมมาแล้วแต่เล็กๆ ต่างคนต่างอ้างว่าตัวเองเป็นธรรม สุดท้ายนำไปสู่พวกมากลากไป ประชาธิปไตยไม่เป็นประชาธิปไตยเสียที เพราะประชาธิปไตยในรูปแบบที่ตายตัวนั้นเป็นเรื่องของพวกมากลากไปจริงๆ การจะโต้ตอบปัญหาประเภทนี้ จึงต้องดึงเอาระดับความเป็นธรรมะในใจของแต่ละบุคคลขึ้นมา ให้ถึงระดับหนึ่งแล้วมองย้อนกลับลงไปมองดูการกระทำของตนเอง ซึ่งโดยมากจะไม่มีผลต่อความรับผิดชอบในส่วนตนเนื่องจากโดยมากเป็นการกระทำต่อผู้อื่นเสียมากกว่า เป็นเหตุให้ความเป็นธรรมะสร้างได้ยากมาก ถึงมากที่สุด แม้สร้างแล้วก็ยังคงต้องชั่งใจว่าเขาอยู่ระดับไหน ขั้นไหนแล้ว สำหรับฉันถ้าให้ออกแบบรูปแบบการตรวจสอบ หรือภาษาทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า Kids น้ำยาตรวจสอบ แบบพกพา นั้น ถามว่าทำได้ไหม คำตอบคือทำได้นะ
เพียงแค่พิจารณารูปแบบนามธรรมของธรรมาภิบาลขึ้นมา แล้วให้คิดย้อนไปหาความเป็นนามธรรมที่ควรเป็นไป หรือโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดของธรรมะข้อนั้น ๆ หรือง่ายๆก็คือการล็อคเลข ให้ออกตามใจสั่งนั่นเอง เหมือนการล็อคเลขสลาก ที่สามารถทำให้เห็นความเป็นรูปธรรม ซึ่งก็คือตัวเลขก่อนล่วงหน้า โดยตั้งข้อกำหนดและเงื่อนไขให้ตรงกันกับเลขที่ล็อคเท่านั้นเอง ฟังดูง่าย แต่วิธีคิดค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย เพราะคนโดยปกติใช้สมองคิด ไม่ใช้ใจคิด จึงไม่เอาใจใส่ในสิ่งที่คิด เมื่อคิดผิด ความบกพร่องที่เกิดขึ้นจึงถูกปัดเป็นเรื่องของใจ ซึ่งเหมือนกับการปลูกต้นไม้ ถ้าคนปลูกดอกไม้ ลูกที่ได้ควรเป็นดอกไม้ไม่ใช่ผลไม้ เปรียบเหมือนการกระทำจะย้อนไปหาหลักธรรมข้อแรกที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เสียก่อน เพราะคนส่วนมากไม่ค่อยเชื่อเช่นนี้ แต่กลับให้ความเชื่อในส่วนที่เรียกว่าความคิด ซึ่งคือการคาดเดา ไปในทางเข้าข้างตนเองเสียเป็นส่วนใหญ่ พฤติกรรมเช่นนี้ ทำไปนานๆเข้าจะเกิดเป็นอุปนิสัย ทำอะไร ไม่ค่อยคิดถึงหัวใจชาวบ้านเขาอื่น แต่โยนความผิดที่เกิดขึ้นให้เขาอื่นเสียแทน ซึ่งในหลักความจริงยังไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องทุกประการ พระพุทธเจ้าจึงแยกความคิด ออกจากความเห็น ออกจากความเป็นไปได้ ออกจากกันอย่างสิ้นเชิง วันนี้จึงขอนำเสนอกลยุทธิ์ กลวิธีง่ายๆ ที่ใช้ตรวจสอบความเป็นธรรมาภิบาลของคน โดยการให้มีการจัดทำหรือประมวลความคิด จาก 2 ส่วน คือ ส่วนแรก จากความคิดตนเอง และอีกส่วนคือความคิดผู้อื่น โครงการนี้จึงสามารถถอดรูปแบบเป็นรูป-นาม เพื่อทำการชี้วัดระดับความเป็นธรรมภิบาลได้ไม่ยาก
สิ่งแรกที่ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกันเสียก่อน คือ การใช้ อริยมรรค 8 ประการ ให้เป็นรูปแบบที่ตายตัวเสียก่อน การจะเข้าใจถึงระดับนี้ จึงต้องทดสอบความทรงจำที่เรียกว่าอริยมรรค 8 ประการ ขึ้นมาก่อน เป็นกระบวนการ ต่อเนื่อง ให้เห็นความเป็นอัตลักษณ์มากยิ่งขึ้น โดย อริยมรรค 8 มีดังนี้
1. สัมมาทิฎฐิ
หมายถึง ความเห็นถูกต้อง คืออันดับแรกเราจะต้องมีความเห็นที่ถูกต้อง คือ การมีดวงตาเห็นธรรมต้องเห็นธรรมเสียก่อนจึงค่อยทำอะไรต่อไปได้ ครั้นจะศึกษารวบรัด จับคนมานั่งสมาธิ คงเป็นไปไม่ได้แน่แท้ เพราะศาสนาและศีลธรรมกำลังเสื่อมหายไปจากสังคมเรื่อยๆ จึงจัดความเห็นได้จากการจำลองภาพในใจ ที่เป็นรูป และ นาม ออกจากกันเสียก่อน โดยังไม่ต้องลงลึกในส่วนของธรรมะ
หมายถึง ความเห็นถูกต้อง คืออันดับแรกเราจะต้องมีความเห็นที่ถูกต้อง คือ การมีดวงตาเห็นธรรมต้องเห็นธรรมเสียก่อนจึงค่อยทำอะไรต่อไปได้ ครั้นจะศึกษารวบรัด จับคนมานั่งสมาธิ คงเป็นไปไม่ได้แน่แท้ เพราะศาสนาและศีลธรรมกำลังเสื่อมหายไปจากสังคมเรื่อยๆ จึงจัดความเห็นได้จากการจำลองภาพในใจ ที่เป็นรูป และ นาม ออกจากกันเสียก่อน โดยังไม่ต้องลงลึกในส่วนของธรรมะ
2. สัมมาสังกัปปะ
หมายถึง ความดำริถูกต้อง ซึ่งคำว่าดำริจะหมายถึง ความคิด ซึ่งควรแยกออกจากความปรารถนา ความใฝ่ฝัน หรือความมุ่งหมาย ในทางที่ดี
หมายถึง ความดำริถูกต้อง ซึ่งคำว่าดำริจะหมายถึง ความคิด ซึ่งควรแยกออกจากความปรารถนา ความใฝ่ฝัน หรือความมุ่งหมาย ในทางที่ดี
ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาธรรมสมัยเดิม แล้วจัดรูปแบบการพัฒนาให้เหมาะกับสมองเสียใหม่ คือ คิดแบบลัด กับ คิดแบบตรงไปตรงมา ผลที่ได้จากกระบวนการคิด ลักษณะนี้ จะเป็นการฝึกฝนความชำนาญ ด้านตรรกะและการรู้สึก = ความเข้าใจ
โดยยึดหลักง่ายๆว่า คิดให้ดี คิดให้ไว แต่ต้องไม่กระทบต่อผลของผู้อื่นรอบข้างหนึ่ง ไม่อาฆาตพยาบาท=ความประสงค์ร้ายต่อผลของเขาอื่น จึงตกไปทันที เพราะเมื่อคนคิดให้อยู่ในกรอบที่ถูกกำหนดขอบเขตเสียใหม่ โดยการจำกัดคำให้ชี้ชัดกว่าเดิม แต่ครอบคลุมกว่าเดิม ความรู้ส่วนนี้จะนำไปสู่การศึกษาอันส่งผลต่อพฤติกรรมได้เช่นกันกับการปฏิบัติ เพียงแค่คิด 1 ต่อ แต่สามารถกวาดและเก็บลูกด้านข้างได้ด้วย (กลวิธีคิดแบบนี้ไม่เหมาะสมสำหรับปกครองคน เช่นผู้บริหาร แต่เหมาะสำหรับสอนคนให้เรียนและรู้จักเลือกใช้คำได้อย่างถูกวิธี เช่น มาสเตอร์ เป็นต้น
โปรดติดตาม...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น