วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประเทศไทยเรานั้นมีนักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่และมองการณ์ไกล อีกทั้งยังริเริ่มและวางแผนไว้ให้เราเรียบเร้อย นโยบายดีๆไม่ต้องไปหาจากที่ไหน

ประเทศไทยเรานั้นมีนัก ปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่และมองการณ์ไกล อีกทั้งยังริเริ่มและวางแผนไว้ให้เราเรียบร้อย นโยบายดีๆไม่ต้องไปหาจากที่ไหน หยุดวิ่งรนราน ควานหาสรรพสิ่งลวงตารอบตัวที่มาพร้อมกับวัตรกรรมใหม่ๆ ทั้งหลอกล่อ จนหลงลืมไปว่าเรามีเพชรน้ำหนึ่งแห่งศาสตร์ทุกด้านอยู่แล้ว เพียงแค่หยิบออกมาแล้วคิด ตีความในสิ่งที่พระองท่านเริ่มไว้ให้ก็สามารถนำมาใช้ได้แล้ว
เช่นหาก ถามว่า เศรษฐกิฐพอเพียงคืออะไร ? ที่พูดกันทุกวันๆ คนไทยทั้งประเทศมีความเข้าใจที่ตรงกันหรือเปล่า  เมื่อเข้าใจต่างกันจะเกิดความเป็นปึกแผ่นอย่างไรได้  แค่เพียงทีวีวิทยุอาจไม่พอ เพราะชาวบ้านเขาทำมาหากิน เต็มที่ก็ฟังผ่านๆ จัดเจ้าที่ลงไปตามจุดต่างๆ เรียกประชุมลูกบ้านมาเข้าฟัง เคาะประตูทุกบ้าน อธิบาย อธิบาย และอธิบาย เมื่อถามความหมายต้องได้คำตอบเดียวกัน อย่าคิดว่าคำง่ายๆ แต่ความหมายกว้าง  การจะให้คนตีความได้เหมือนกันนั้นยากนัก
ความหมายของคำว่า"พอเพียง" นโยบายดีๆมีประโยชน์ต่อประเทศจากนี้จนถึงอนาคต คืออะไร
ระบบเศรษฐกิจพอเพียง  มุ่งเน้นให้
- บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน
- ใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน
- ถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน
- ใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน

สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

การ พัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศ และของประชาชนโดยสอดคล้อง ด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[1 ] (ตัดมาจาก วิกิพีเดีย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น