โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจเปรียบเทียบวัตถุพยานประเภทแก้ว
กระจก และสี ด้วยเทคนิค
X-Ray Fluoresence;XRF
ด้วยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่ได้รับความไว้วางใจ และความเชื่อถือจากประชาชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม
ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานต่างๆ
และกลุ่มตรวจสอบอาวุธปืนและวัตถุพยานทางฟิสิกส์
มีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบในการตรวจพิสูจน์อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน
การตรวจเปรียบเทียบลูกกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืน การตรวจเปรียบเทียบร่องรอย(Tools
Mark) รอยสะเก็ดระเบิด เช่น เหล็กเส้นตัดเป็นท่อน รอยตะปูเรือใบ รอยรองเท้า รอยยางรถยนต์
รอยลวดเย็บกระดาษ ตลอดจนถึงวัตถุพยานทางฟิสิกส์อื่นๆ
เช่นเศษชิ้นส่วนสีรถยนต์ เศษแก้วและกระจก น้ำมัน เส้นใย ไฟเบอร์และอื่นๆ
ปัจจุบันความสำคัญของวัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกในประเทศไทยนั้น
ค่อนข้างมีน้อย เนื่องจากเป็นเพียงเศษชิ้นส่วนวัตถุพยานชิ้นเล็กๆ มองเห็นได้ยาก
และหาความเชื่อมโยงในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้ไม่ง่ายนัก
หากแต่ในต่างประเทศวัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกนั้นมีความสำคัญค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะในคดีอุบัติเหตุจราจร ชนแล้วหนี (Hit and Run) คดีงัดแงะ
(Forced entries) ซึ่งโดยปกติที่ใช้ในการจำแนก
แยกประเภทของแก้วและกระจกก็จะใช้การดูสี ดูความหนา ดูค่าดัชนีหักเห
(Reflective Index) และถ้าต้องการตรวจวิเคราะห์ในระดับ
Individual ก็อาจใช้ FT-IR หรือ เทคนิค Laser
Ablation ICP-MS ซึ่งเป็นเทคนิคที่ยอมรับกันในต่างประเทศมาแล้ว
แต่ก็ยังมีความยุ่งยากอยู่หลายประการทั้งในด้านเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ
การเลือกแก้วมาตรฐานที่มีความเหมาะสม เป็นต้น
กลุ่มตรวจสอบอาวุธปืนและวัตถุพยานทางฟิสิกส์มองเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ซึ่งทางกลุ่มงานมีอยู่แล้ว
จึงต้องการสร้างเสริมและพัฒนาเทคนิคการตรวจที่มีอยู่แล้วในประเทศ ซึ่งก็คือเทคนิค X-Ray
Fluorescence; XRF
ขึ้นเพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับกระบวนงานการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกเพื่อสนับสนุนงานการตรวจวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสม และมีความเชื่อถือได้ต่อไป ทั้งนี้ก็เป็นไปเพื่อการสอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ด้านการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนด้วยความถูกต้องเป็นธรรมและยกระดับมาตรฐานงานการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในระดับที่มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์
๗.๑ เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ของธาตุองค์ประกอบของวัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกโดยใช้เทคนิค
XRF,
เปรียบเทียบความแตกต่างของธาตุองค์ประกอบอันเป็นเอกลักษณ์ของวัตถุพยานประเภทแก้วกระจก
และสี
๗.๒ เพื่อศึกษา ค้นคว้าและเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูลวัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกเพื่อใช้ในการตรวจวิเคราะห์เปรียบเทียบต่อไปในอนาคต
เป้าหมาย
พัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มตรวจสอบอาวุธปืนและวัตถุพยานทางฟิสิกส์
สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ให้มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์วัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกได้อย่างถูกต้อง
สามารถสร้างความเชื่อมั่นและอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑๕.๑ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสนับสนุนงานการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานทางฟิสิกส์
คือการตรวจเปรียบเทียบวัตถุพยานประเภทแก้ว กระจก และสี ด้วยเทคนิคเอ็กเรย์ฟลูออเรสเซนส์
; XRF เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ทางห้องปฎิบัติการที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
๑๕.๒ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการตรวจพิสูจน์คดีจราจร
หรืออุบัติเหตุเฉี่ยวชนทางรถยนต์ และคดีความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้ ให้แก่ผู้ตรวจพิสูจน์
๑๕.๓ เพื่อศึกษา
แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลวัตถุพยานประเภทแก้ว กระจก และสี เพื่อไว้ใช้ในการ
สืบค้น และการตรวจเปรียบเทียบต่อไปในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น