วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

กรดไนตริก (HNO3)


กรดไนตริก (HNO3) เป็นของเหลวใส ไม่มีสี สีเหลืองอ่อน หรือสีชา กลิ่นฉุน เป็นกรดแก่ น้ำหนักโมเลกุล 63.01 จุดเดือด 83 องศาเซลเซียส ความถ่วงจำเพาะ 1.5 ความดันไอ 4.3 มม.ปรอทที่ 20องศาเซลเซียส ระเหยได้เล็กน้อย ละลายน้ำได้ดี เป็นสารออกซิไดเซอร์อย่างแรง เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับสารตัวทำละลายอินทรีย์ส่วนมาก ไวต่อการสั่นสะเทือนและการเสียดสี ซึ่งอาจทำให้ระเบิดได้ แต่ไม่ติดไฟ เมื่อได้รับความร้อนสูงหรือถูกแสงแดดจะสลายตัวเกิดก๊าซพิษไนโตรเจนไดออกไซด์ กรดไนตริกสามารถกัดกร่อนโลหะทุกชนิด ยกเว้นเหล็กกล้าไร้สนิมและอะลูมิเนียม

แหล่งกำเนิดส่วนใหญ่ผลิตจากไนโตรเจนในอากาศโดยกรรมวิธีต่างๆ เช่น ใช้ประกายไฟทำให้รวมตัวกับออกซิเจนเกิดไนโตรเจนมอนอกไซด์ และทำปฏิกิริยาต่อก๊าซออกซิเจน หินปูน และกรดซัลฟุริก จนได้กรดไนตริก หรือการออกซิเดชั่นของแอมโมเนียกับอากาศโดยตัวเร่งแพลทตินัม (Platinum catalyst)

ความเข้มข้นของกรดไนตริกในท้องตลาดมีความแตกต่างกันไป เช่น ร้อยละ 38 (30 degrees) ไปจนถึงร้อยละ 90 หรือ 95 ซึ่งเรียกว่าฟูมมิงไนตริก (Fuming nitric) และมีความถ่วงจะเพาะประมาณ 1.6 กรดที่ใช้ทั่วไปมีความเข้มข้นประมาณน้อยละ 68 และมีสีชา เนื่องจากก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ที่ละลายอยู่ในกรดนั้น

อันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หากหายใจเข้าไปจะระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ เมื่อเปรียบเทียบกับกรดซัลฟุริก จะมีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อน้อยกว่าและมีความเป็นพิษเช่นเดียวกับกรดไฮโดรคลอริก

พิษเรื้อรังจากการสัมผัสช้า และนานๆ ทำให้เกิดการบวมของเนื้อเยื่อปอดและทางเดินหายใจ มีการอักเสบเรื้อรังของปอดและท่อลม ไอระเหยหรือละอองไอของกรดทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน การสัมผัสที่ผิวหนังทำให้บริเวณนั้นเป็นรอยคราบสีเหลือง ต่างจากกรดไฮโดรคลอริกที่เป็นสีน้ำตาลหรือดำ

เนื่องจากเป็นสารที่เกิดปฏิกิริยารุนแรงกับสารไวไฟ สารรีดิวเซอร์ เบส และสารอินทรีย์อีกหลายชนิด จึงต้องระมัดระวังในการปฏิบัติงาน เก็บในที่เย็นและมืด หลีกเลี่ยงจากวัสดุไวไฟต่างๆ หลีกเลี่ยงแสงแดดและความร้อน ป้องกันการสลายตัวเกิดก๊าซพิษ การเกิดเพลิงไหม้และการระเบิด และหลีกเลี่ยงการกัดกร่อนโลหะต่างๆ
การกำหนดระบบมาตรฐานนั้น นอกจากข้อกำหนดตามที่ระบบกำหนดไว้ในข้อกำหนด จึงมีความจำเป็นที่การปฏิบัติงานของบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ควรต้องเป็นไปในลักษณะเดียวกัน รับผิดชอบแทนกันได้ และมีการจัดตารางการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์ชั้นสูงนั้นให้มีความเป็นอิสระจากการครอบครองของใครคนหนึ่งคนใด โดยถือว่าเป็นของส่วนรวมรับผิดชอบร่วมกัน และกลไกการปฏิบัติงานตามหน้าที่นั้นควรเป็นสิ่งที่บุคคลากรทุกคนต้องเคารพ และเห็นชอบที่จะปฏิบัติตามด้วย การปฏิบัติงานราชการจะใช้ระบบพึ่งพาอาศัย ค่าของคนอยู่ที่คนของใครนั้นไม่ใช่สิ่งอันสมควรจะเกิดขึ้นในสถานที่ราชการ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ คือ แม้คน 2 คน จะมีเรื่องหมางใจกัน จนแทบจะฆ่ากันได้ แต่นั่นมิได้หมายความว่าคนทั้งสองคนนั้นจะทำงานร่วมกันไม่ได้ เพราะต่างคน ก็ต่างมีหน้าที่คือปฏิบัติงานราชการเหมือนกัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชากระทำผิด ผู้เหนือบังคับบัญชาจึงสามารถว่ากล่าว ตำหนิ ได้ตามหลักและเหตุผลของการกระทำผิด หาใช่ความถูกใจ จะมอบหมายงานให้ก็มอบ ไม่พอใจก็ไม่มอบงานให้ทำ และประกาศต่อบุคคลอื่นว่าบุคคลนั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการตามตำแหน่งหน้าที่ได้ จะด้วยเหตุผลจากการหย่อนการบริหารของสายบังคับบัญชาหรือไม่อย่างไรนั้น  ข้าพเจ้าเห็นว่าการมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้บุคลากรแต่ละคนในหน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้นั้น ไม่สมควรยึดถือในเรื่องของตัวบุคคล แต่ควรยึดถือและคำนึงในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ตนเองให้เหมาะสมมากกว่า  เนื่องจากปัจจุบันได้มีการมอบหมายให้ทำการขอคำรับรองมาตรฐาน ISO/OEC 17025  และมีคำสั่งมอบหมายงานในหน้าที่ให้แก่เจ้าหน้าที่กลุ่มงานทุกคน ตามปรากฎในตัวชี้วัด แต่ทว่าในทางปฏิบัติจริงนั้น อาจยังติดขัดในเรื่องของกฎระเบียบและระบบศักดินาในสมัยเก่า จึงทำให้อำนาจการสั่งการตามสายบังคับบัญชานั้นไม่เด็ดขาดและหนักแน่นพอ กลายเป็นว่าบุคคลมาทำงานก่อน มีอำนาจเหนือการบังคับบัญชาของกฎแห่งการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นเหตุให้เกิดช่องว่างทำให้การปฏิบัติงานในสายงานภายในกลุ่มเป็นไปไม่ได้ตามมอบหมาย คือมีการขอตัวบุคคลจากหน่วยงานอื่น เข้ามาทำหน้าที่ภายในกลุ่ม และในแต่ละวันบุคคลากรภายในกลุ่มไม่มีงานมอบหมายให้ปฏิบัติงานใดๆได้  ซ่างถ้าพิจารณาปัญหาที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นเรื่องของสายการบังคับบัญชา แต่ไม่มีบุคลากรในระดับเดียวกันสามารถแก้ไขปัญหาได้ ภาพที่ปรากฎเบื้องหลัง โดยไม่มีนัยสำคัญแห่งการอธิบายใดๆจึงทำให้บุคคลากรคนหนึ่งถูกกล่าวหาว่าไร้ความสามารถ ไม่ทำงาน ไม่ปฏิบัติหน้าที่  ยังมาซึ่งความเสื่อมเสียในความเชื่อถือในการปฏิบัติงานของบุคคลนั้น โดยปราศจากการไต่สวน ทบทวนความใดๆ  แม้การทำงานจะเป็นไปในลักษณะของพี่-น้อง ได้ แต่การบังคับบัญชาตามหน้าที่ไม่สมควรหายไปด้วย การพิจารณาหาแนวทางแก้ปัญหาให้กรณีดังกล่าวนี้จึงสมควรว่าควรเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทางของปัญหามากกว่าการขุดค้นรากเหง้าแห่งความเสียหายและรอยบาดหมาง ทั้งการกำหนดและทบทวนระเบียบปฏิบัติงานของบุคคลากรในสังกัดจะแก้ปัญหาการทำงานรวมกันเป็นทีมไม่ได้แล้ว ยังเป็นแนวทางการดำเนินงานฟื้นฟู Carrier Path ของสายงานนั้นให้มีความต่อเนื่องและเป็นอิสระจากฐานันดรในสังคมได้ ซึ่งจะส่งผลให้บุคคลากรที่ต้องพบเจอกรณีลักษณะดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือ และความเป็นธรรม ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการในสังกัดต่อไปได้ด้วยความเรียบร้อยและมีความก้าวหน้าในสาขาอาชีพที่ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเป็นธรรม