วันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

X-ray Fluorescence (XRF)

X-ray Fluorescence (XRF) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ธาตุ ที่อยู่ในตัวอย่างทดสอบ โดยสามารถวิเคราะห์ได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยสามารถใช้ได้กับงานวิจัยในหลายๆ ด้าน เช่น วัสดุศาสตร์, ธรณีวิทยา, สิ่งแวดล้อม, ทางการแพทย์ รวมถึงตัวอย่างจากอุตสาหกรรมด้านต่างๆ เป็นต้น การวิเคราะห์ของเครื่อง XRF จะอาศัยหลักการเรื่องรังสีเอกซ์ ของตัวอย่าง โดยจะยิงรังสีเอกซ์เข้าไปในตัวอย่าง ธาตุต่างๆ ที่อยู่ในตัวอย่างจะดูดกลืนรังสีเอกซ์ แล้วคายพลังงานออกมา โดยพลังงานที่คาย หรือ Fluorescene ออกมานั้น จะมีค่าพลังงานขึ้นกับชนิดของธาตุที่อยู่ในตัวอย่างนั้นๆ ทำให้เราสามารถแยกได้ว่า ในตัวอย่างที่ทดสอบนั้น มีธาตุอะไรอยู่บ้าง โดยใช้ Detector วัดค่าพลังงานที่ออกมาจากตัวอย่าง
เครื่อง XRF โดยทั่วไปจะมีด้วยกัน 2 แบบ คือ Wavelength Dispersive XRF (WDXRF) และ Energy Dispersive XRF (EDXRF) โดยเครื่อง XRF ของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ม.แม่ฟ้าหลวง จะเป็นแบบ EDXRF ซึ่งจะสามารถทำการวิเคราะห์ธาตุในตัวอย่าง ได้ตั้งแต่ Na - U เรียงตาม Atomic number โดยสามารถทำการวิเคราะห์ได้ทั้งแบบไม่มี Standard และ มี Standard (ต้องเอา Standard มาเอง) สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ในหลายลักษณะ ทั้งของแข็ง, ผง, ตัวอย่างที่ขึ้นรูปแล้ว หรือ ตัวอย่างที่เป็นของเหลว
ข้อดีของเครื่อง XRF เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคอื่นๆ ก็คือ เป็นเทคนิคที่ไม่ทำลายตัวอย่าง (ยกเว้นกรณีที่ต้องบดตัวอย่างเพื่อขึ้นรูปเป็นเม็ด) และให้ผลการทดสอบที่รวดเร็ว และไม่จำเป็นต้องใช้ Standard ในการทดสอบ 
ข้อเสียของ XRF แบบ EDXRF ก็คือความสามารถในการวิเคราะห์ ตัวอย่างที่มีปริมาณน้อยๆ จะทำได้ยาก โดยเฉพาะธาตุในกลุ่ม Light Element หากมีปริมาณน้อยๆ ผลที่ได้จะไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้ง หากตัวอย่างนั้น ไม่สามารถขึ้นรูปให้เป็นของแข็ง เพื่อทดสอบในสภาพ Low pressure ก็จะเกิดการดูดกลืนรังสีของอากาศ ภายในห้องใส่ตัวอย่าง ซึ่งมีผลให้ Intensity ของ X-ray ที่ได้ลดลง 

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจเปรียบเทียบวัตถุพยานประเภทแก้ว กระจก และสี ด้วยเทคนิค X-Ray Fluoresence;XRF

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการตรวจเปรียบเทียบวัตถุพยานประเภทแก้ว กระจก และสี ด้วยเทคนิค
   X-Ray Fluoresence;XRF
ด้วยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม เป็นหน่วยงานที่ได้รับความไว้วางใจ และความเชื่อถือจากประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการตรวจพิสูจน์หลักฐานและการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานต่างๆ และกลุ่มตรวจสอบอาวุธปืนและวัตถุพยานทางฟิสิกส์ มีภารกิจหน้าที่ความรับผิดชอบในการตรวจพิสูจน์อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน การตรวจเปรียบเทียบลูกกระสุนปืนและปลอกกระสุนปืน การตรวจเปรียบเทียบร่องรอย(Tools Mark) รอยสะเก็ดระเบิด เช่น เหล็กเส้นตัดเป็นท่อน รอยตะปูเรือใบ รอยรองเท้า รอยยางรถยนต์ รอยลวดเย็บกระดาษ ตลอดจนถึงวัตถุพยานทางฟิสิกส์อื่นๆ เช่นเศษชิ้นส่วนสีรถยนต์ เศษแก้วและกระจก น้ำมัน เส้นใย ไฟเบอร์และอื่นๆ
              ปัจจุบันความสำคัญของวัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกในประเทศไทยนั้น ค่อนข้างมีน้อย เนื่องจากเป็นเพียงเศษชิ้นส่วนวัตถุพยานชิ้นเล็กๆ มองเห็นได้ยาก และหาความเชื่อมโยงในทางนิติวิทยาศาสตร์ได้ไม่ง่ายนัก หากแต่ในต่างประเทศวัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกนั้นมีความสำคัญค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในคดีอุบัติเหตุจราจร ชนแล้วหนี (Hit and Run) คดีงัดแงะ (Forced entries) ซึ่งโดยปกติที่ใช้ในการจำแนก แยกประเภทของแก้วและกระจกก็จะใช้การดูสี ดูความหนา ดูค่าดัชนีหักเห (Reflective Index) และถ้าต้องการตรวจวิเคราะห์ในระดับ Individual ก็อาจใช้ FT-IR หรือ เทคนิค Laser Ablation ICP-MS ซึ่งเป็นเทคนิคที่ยอมรับกันในต่างประเทศมาแล้ว แต่ก็ยังมีความยุ่งยากอยู่หลายประการทั้งในด้านเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ การเลือกแก้วมาตรฐานที่มีความเหมาะสม เป็นต้น

              กลุ่มตรวจสอบอาวุธปืนและวัตถุพยานทางฟิสิกส์มองเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ซึ่งทางกลุ่มงานมีอยู่แล้ว จึงต้องการสร้างเสริมและพัฒนาเทคนิคการตรวจที่มีอยู่แล้วในประเทศ ซึ่งก็คือเทคนิค X-Ray Fluorescence; XRF ขึ้นเพื่อนำมาปรับใช้ให้เข้ากับกระบวนงานการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกเพื่อสนับสนุนงานการตรวจวิเคราะห์ทางนิติวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีความเชื่อถือได้ต่อไป ทั้งนี้ก็เป็นไปเพื่อการสอดรับกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ด้านการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนด้วยความถูกต้องเป็นธรรมและยกระดับมาตรฐานงานการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานด้านนิติวิทยาศาสตร์ในระดับที่มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ 
๗.๑  เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ของธาตุองค์ประกอบของวัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกโดยใช้เทคนิค XRF, เปรียบเทียบความแตกต่างของธาตุองค์ประกอบอันเป็นเอกลักษณ์ของวัตถุพยานประเภทแก้วกระจก และสี
๗.๒ เพื่อศึกษา ค้นคว้าและเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูลวัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกเพื่อใช้ในการตรวจวิเคราะห์เปรียบเทียบต่อไปในอนาคต
เป้าหมาย  
พัฒนาศักยภาพบุคลากรกลุ่มตรวจสอบอาวุธปืนและวัตถุพยานทางฟิสิกส์ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ให้มีความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการตรวจวิเคราะห์วัตถุพยานประเภทแก้วและกระจกได้อย่างถูกต้อง สามารถสร้างความเชื่อมั่นและอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 
          ๑๕.๑ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสนับสนุนงานการตรวจพิสูจน์วัตถุพยานทางฟิสิกส์ คือการตรวจเปรียบเทียบวัตถุพยานประเภทแก้ว กระจก และสี ด้วยเทคนิคเอ็กเรย์ฟลูออเรสเซนส์ ; XRF เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการตรวจพิสูจน์ทางห้องปฎิบัติการที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
๑๕.๒ เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจในการตรวจพิสูจน์คดีจราจร หรืออุบัติเหตุเฉี่ยวชนทางรถยนต์ และคดีความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้ ให้แก่ผู้ตรวจพิสูจน์
๑๕.๓ เพื่อศึกษา แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลวัตถุพยานประเภทแก้ว กระจก และสี เพื่อไว้ใช้ในการ
สืบค้น และการตรวจเปรียบเทียบต่อไปในอนาคต